เกี่ยวกับจีฟินน์

บริษัท จีฟินน์ รับเบอร์เทค จำกัด ก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 20 กันยายน  2562 ที่ โดยนายณัฐวี บัวแก้ว และนางสาวกุลธิดาเกตุแก้ว โดยมีวัตถุประสงค์คือต้องการนำยางพาราที่มีราคาตกต่ำมากในขณะนั้นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม

ผลกระทบจากปัญหาราคายางตกต่ำเป็นปัญหาใหญ่มากของประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรหลายล้านคนทุกภูมิภาคในประเทศไทย  การแก้ปัญหาราคายางที่ตกต่ำสามารถทำได้ด้วยการแปลรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพราะเราสามารถกำหนดราคาขายได้ด้วยตนเองไม่จำเป็นต้องอิงกับกลไกการตลาดมากนัก

จากผลการวิเคราะห์พบว่าประเทศไทยส่งออกยางพาราต้นน้ำ เช่น น้ำยางข้น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง สูงถึง 87% แต่ในทางกลับกันประเทศไทยแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเพื่อจำหน่ายเพียง แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือตัวเลขมูลค่าของทั้งสองมีความใกล้เคียงกันจากข้อมูลดังกล่าวสามารถสรุปสั่นๆได้ว่า ปัญหาราคายางตกต่ำมีทางออกคือการเพิ่มปริมาณการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการของตลาด ทางบริษัทได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวเหล่านี้และใช้วิกฤตการณ์ในครั้งนี้สร้างเป็นโอกาสทางธุรกิจที่จะพัฒนาสังคมให้ยังยืนควบคู่กับการเติมเต็มด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดการวิจัยและพัฒนาโครงการ

  1. ถุงเพาะชำย่อยสลายได้จากยางพาราภายใต้แบรนด์ Greensery ใช้ปลูกกล้าไม้ทั่วไปโดยไม่ต้องแกะหรือกรีดถุงออกสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  2. ผลิตภัณฑ์รองโคจากยางพารา ใช้สวมใส่เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บของกีบเท้าโค
  3. บริษัท ได้จัดจำหน่าย เคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการวิจัยในห้องปฏิบัติการและในระดับอุตสาหกรรม

ผลิตภัณฑ์จากยางพารา และเคมีภัณฑ์

ถุงเพาะชำย่อยสลายได้
รองเท้าโค
เคมีภัณฑ์

Greensery
ถุงเพาะชำย่อยสลายได้จาก ยางพารา

ปัจจุบันประเทศไทยและทั่วโลกใช้ถุงเพาะชำจากพลาสติกจำนวนเยอะมากต่อปี ไม่ว่าจะเป็นทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเองก็ตาม ซึ่งการปลูกต้นไม้เแต่ละครั้งต่างก็มีจุดประสงค์ที่ดี แต่มันจะดีกว่านี้ถ้าทุกครั้งที่เราปลูกต้นไม้จะไม่หลงเหลือขยะพลาสติกที่ต้องใช้ระยะเวลาย่อยสลายยาวนานหลายร้อยปี ยิ่งปลูกต้นไม้มากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มจำนวนขยะจากถุงเพาะกล้าพลาสติกมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันเรายังให้ความสำคัญเกี่ยวกับขยะจากถุงเพาะชำน้อยมากซึ่งสวนทางกับกระแสโลกอย่างมากหลายประเทศทั่วโลกรณรงค์และออกนโยบายปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่อง ทางบริษัทจึงได้คิดค้นนวัตกรรมถุงเพาะชำย่อยสลายได้จากยางพาราเป็นการนำยางพารามาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและยังสามารถแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมลดปริมาณขยะจากพลาสติกที่ย่อยยากจากการปลูกต้นไม้จะหมดไปโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ถุงเพาะชำยางพารามีประโยชน์หลายอย่าง เช่น การย่อยสลายตามธรรมชาติโดยเมื่อถุงลงสู่ดินถุงจะเริ่มย่อย ผุเปื่อย ที่ระยะเวลาประมาณ 6  เดือนถึง 1 ปี หลังปลูกลงดิน ก่อนปลูกลงดินไม่จำเป็นต้องกรีดหรือแกะถุงออกสามารถปลูกลงทั้งถุงได้เลยทำให้ต้นกล้ารอดตายจากการย้ายกล้าลงปลูก 100 % เนื่องจากรากไม่บอบช้ำ และไม่เกิดการชะงักการเจริญเติบโต คนงานสามารถทำงานได้สะดวกขึ้นในการย้ายกล้าลงแปลงปลูกหรือเปลี่ยนขนาดไซส์ถุง และถุงมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำทำให้ลดความถี่ในการรดน้ำ ต้นกล้ามีความชื้นหล่อเลี้ยงตลอดและเมื่อถุงเริ่มย่อยสลายจะกลายเป็นปุ๋ยให้แก่ดินเพราะส่วนผสมของถุงมีสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของต้นกล้า

คุณสมบัติของถุงเพาะชำย่อยสลายได้จากยางพารา

  1. ถุงย่อยสลายได้ปลูกทั้งถุงได้เลยไม่ต้องแกะหรือกรีดถุง รากไม่เกิดการบอบซ้ำ กล้าไม้ไม่เกิดการชะงักการเติบโตรอดตายจากการย้ายกล้า 100%
  2. ลดระยะเวลาการทำงานของคนงานลง ทั้งในการปลูกและการเปลี่ยนขนาดไซค์ถุง ทำงานได้ง่ายสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ถุงดูดซับน้ำได้ลดความถี่ในการรดน้ำและมีความชื้นหล่อเลี้ยงตลอดเวลา
  4. ไม่เกิดขยะจากการปลูกต้นไม้
  5. ส่วนผสมมาจากธรรมชาติทั้งหมดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  6. มีเอกสารรับรองไม่มีสารเคมีตกค้างในดินและเอกสารรับรองความเป็นอินทรีย์ของถุงเพาะชำ
  7. มีสารอาหาร N P K ภายในถุง
  8. เพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราไทย

DEECO
รองเท้าโคจากยางพารา

ปัจจุบันการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้นเนื่องด้วยนมโคมีความต้องการสูงในท้องตลาดทั้งตลาดในประเทศไทยและตลาดส่งออก แต่ปัญหาที่พบในฟาร์มโคนมนั้นคือปัญหาด้านสุขภาพของโคนม โคนมส่วนใหญ่ มีอาการเจ็บกีบเท้าซึ่งอัตราการบาดเจ็บสูงถึง 30% ของจำนวนโคนมในฟาร์มและไม่มีฟาร์มโคนมฟาร์มไหนไม่เจอปัญหาเหล่านี้ ซึ่งการเจ็บกีบเท้าเกิดจากสาเหตุดังนี้

  1. การให้อาหารข้นเพื่อกระตุ้นให้โคผลิตน้ำนมได้มาก ส่งผลให้เกิดกรดเกินในกระเพาะอาหาร และถูกดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือด ซึ่งจะไปมีผลต่อช่วงล่างของโค ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณขาและกีบ โดยส่วนใหญ่จะเกิดกับกีบด้านในของขาหลัง
  2. เมื่อโคมีสภาพพร้อมในการรีดนม น้ำหนักของโคนมจะสูงถึง 400-700 กิโลกรัม ซึ่งส่งผลให้กีบเท่าโคแตก
  3. เกิดจากกายวิภาคของกีบเท้าโคที่รับน้ำหนักของกีบเท้าทั้งสองข้างไม่เท่ากัน นั้นคือ 45% และ55% เป็นต้น
  4. สภาพแวดล้อมในการเลี้ยงโคนม ที่ปูด้วยพื้นซีเมนต์ที่มีความแข็งกระด้าง หรือพื้นดินที่มีก้อนกรวดปะปนส่งผลให้กีบเท้าแตกเมื่อโคที่มีน้ำหนักตัวมากๆเหยียบ

ปัญหาที่ตามมาหลังจากกีบเท้าโคแตก

  1. โคจะใช้เวลานอนมากกว่ายืนซึ่งส่งผลต่อเต้านมอาจอักเสบได้
  2. โคไม่มีสภาพพร้อมที่จะผสมพันธุ์
  3. น้ำนมหายไปมากกว่า 80 % เมื่อโคเจ็บกีบเท้า
  4. โคทานอาหารได้น้อยลง
  5. ต้องคัดทิ้งเป็นโคเนื้อ

การรักษาโคนมหลังเจ็บกีบเท้า 

ในการรักษาจะต้องใช้รองเท้าโคมาช่วยรองกีบด้านที่ไม่เจ็บ เพื่อยกกีบโคให้สูงขึ้น กีบที่บาดเจ็บจะได้ไม่ต้องสัมผัสกับพื้นและเชื้อโรค ทำให้อากาศถ่ายเทสะดวก จะช่วยให้การบาดเจ็บหายเร็วขึ้น แต่ปัจจุบันประทศไทยต้องนำเข้ารองเท้าโคจากต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งที่ผลิตจากพีวีซี หรือพอลิยูริเทน และค่อนข้างแข็ง ทั้งยังราคาแพง ตกข้างละประมาณ 1,500 บาท – 2000 บาท และต้องสั่งซื้อครั้งละมาก ๆ จึงมีใช้แต่เฉพาะในฟาร์มขนาดใหญ่เท่านั้น ขณะที่เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถหาซื้อได้ ซึ่งบางรายอาจนำเศษไม้ที่มาดัดแปลงเพื่อใช้รองกีบโคแทนรองเท้าโค ซึ่งยังมีความแข็งกระด้างและใช้งานได้แค่ครั้งเดียว ราคาอยู่ที่ 300 บาท
นวัตกรรมรองเท้าโคนมจากยางพาราจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวซึ่งทำให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงรองเท้าโคนมที่มีประสิทธิภาพและราคาถูกมากยิ่งขึ้นและยังสามารถลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์รองเท้าโคจากต่างประเทศได้ นอกจากนี้รองเท้าโคสามารถนำมาพัฒนาเพื่อให้มีความสามารถต้านทานเชื้อแบคทีเรียได้ด้วยการเคลือบด้วยซิลเวอร์นาโน เพราะอาการเจ็บกีบมีปัจจัยจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จากพื้นคอกที่อับชื้น สกปรก

เคมีภัณฑ์ ที่ใช้ในการทำวิจัย และระดับอุตสาหกรรม

มีสารเคมีแบ่งย่อยตามกลุ่มดังนี้

  1. เคมีภัณฑ์ด้านยางพารา
  2. เคมีภัณฑ์ด้านเภสัชกรรม
  3. เคมีภัณฑ์